การสัมผัสควันบุหรี่มือสอง

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

การบริโรคยาสูบเป็นสาเหตุที่รุนแรงที่สุดที่ก่อเกิดโรคมะเร็งได้ มากมายทั้งโรคมะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง และ มะเร็งกระเพาะอาหาร ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาศัยในประเทศ กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย จีน อินเดีย ดังนั้นการป้องกันโรค มะเร็งที่ดีที่สุด คือการงดการสูบบุหรี่ หรือเสพยาสูบทุกประเภท ทั้งการสูบ อม เคี้ยว จุกไว้ในช่องปาก หรือป้ายผิวหนัง พ่อจมูก สูดดม หรือเแปะตามผิวหนัง และการหลีกเลี่ยงการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง

หยุดบริโรคยาสูบทุกประเทภ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสควัน บุหรี่มือสองด้วยการทำบ้าน ที่ทำงาน และสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ปลอด บุหรี่ เป็นวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การดื่มสุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

เพิ่มความเสียงขึ้น 4-6 เท่าที่จะเกิดโรคมะเร็งช่องปาก คอ กล่อง เสียง เต้านม ลำใส้ และตับ ความเสียงเกิดโรคมะเร็งในระบบทาง เดินอาหารเพิ่มขึ้นหากดื่มสุรามากกว่า 25 กรัมต่อวัน/ดื่มไวน์ 2.5 ลิตรต่อวัน / ดื่มเบียร์ 5 แก้วต่อวัน

จำกัดการดื่มสุรา/เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ทุกประเภทสามารป้องกันโรคมะเร็งได้

 

การออกกำลังกาย

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

การออกกำลังกายน้อยเกินไปเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 25 ทั่วโลก การออกกำลังกายสม่ำ เสมอช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ลงได้ และ ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน

ผู้ใหญ่ควรออกกำลังกายระดับปานกลางอย่้างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสียงเกิดโรคมะเร็งได้ในเด็ก และวัย รุ่น วัยเรียนควรออกกำลังกายระดับปานกลางวันละ 1 ชั่วโมงทุกวัน

 

การรับประทานอาหารสุขภาพ

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

อาหารเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด จากผลการ ศึกษาวิจัยยืนยันว่าหากรับประทานผักผลไม้ทุกวันจะลดความเสี่ยง เป็นโรคมะเร็งช่องปากได้ 20% ลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะ อาหาร 30% การรับประทานอาหารกากใยสูง เฉลี่ย 27 กรัมต่้อวัน ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 20% แต่การรับประทานเนื้อ สัตว์ที่ผ่านกระบวนการ เช่น ไส้กรอก เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ลำไส้ และอาหา้รใส่/หมักเกลือ ตากแห้งเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร

จำกัดการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง / มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนย กะทิ น้ำมันปาล์ม ของทอด เครื่องดื่มที่ชงเติมผสมน้ำตาล เนื้อ แดงปรุงสำเร็จ หรือทอด และเพิ่มการรับประทานอาหารสุขภาพมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ อาจลดความเสีี่ยงเกิดมะเร็งได้

การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

คนอ้วน หรือท้วม (ดังชี้มวลกายมากกว่า่ 25 และ 30) มีความเสี่ยง เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ไต หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ และเต้านม (ในสตรีวัยหมดประจำเดือน) มะเร็งต่อมลูกหมาก ถุงน้ำ ดี และตับอ่อนเพิ่มขึ้น

คุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน / ท้วม ด้วยการออกกำลังกาย รับประทาน อาหารสุขภาพ อาจลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

การหลีกเลี่ยงแสงแดด

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

แสงแดด เป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยสร้างไวตามินดี แต่การสัมผัสแสง แดดหรือได้รับแสงอัลตร้าไวโอเลต (ยูวี) มากเกินไปจากการอาบ แดด เพิ่มความเสียงเกิดมะเร็งผิวหนัง

หยุดการอบแดด ทาครีมกันแดด และใส่เสื้อผ้าปกปิดช่วยป้องกัน มะเร็งผิวหนัง

การติดเชื้อ

เครือข่ายพยาบาลไทยป้องกันภัยมะเร็ง

แม้ว่าโรคมะเร็งจะไม่ใช่โรคติดเชื้อ แต่พบว่าการติดเชื้อหลายชนิด เป็นสาเหตุโดยตรง / เพิ่ิมความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เกือบร้อยละ 22 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอาศัยในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่อยู่ในประเทศอุตสาหกรรม ติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี/ซี เป็นสาเหตุมะเร็งตับ ไวรัสแพพิลโลม่า เป็นสาเหตุโรคมะเร็งปากมดลูก เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิต้านทานการติดเชื้อโรค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อ และการเกิดมะเร็งได้

 
Free Web Hosting