โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

หน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดเชียงใหม่

โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกว่าอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและพบบ่อย ของประเทศไทย เป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับ 1 ของการเสียชีวิตใน เพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชาย ร้อยละ 70 ของผู้ป่วย จะมีปัญหา ด้านการพูด การสื่อสาร และ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีความพิการ ซึ่งต้องอาศัยการดูแลช่วยเหลือ จากผู้อื่นตลอดชีวิต แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. เส้นเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน (พบได้ ร้อยละ 85) สมองขาด เลือดจากการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง (การรักษามีได้หลายแนว ขึ้นกับตำแหน่งของโรค และระยะ เวลาที่มาพบแพทย์)
  2. เส้นเลือดในสมองแตก (พบได้ร้อยละ 15) เกิดจากเส้นเลือดใน สมองเกิดการปริแตก (การรักษา อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอา ก้อนเลือดออกในบางกรณีที่ทำได้)

สัญญาณอาการอันตราย

หน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดเชียงใหม่

  1. ชาหรืออ่อนแรงแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้่างหนึ่ง
  2. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด ทันที
  3. มีอาการมึนงง เดินไม่ได้มั่นคงเสียศูนย์
  4. ตามัว หรือการมองเห็นลดลงข้างใดข้างหนึ่ง ทันที
  5. อาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงไม่มีสาเหตุ ทันที

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอง

ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหสนึ่งซึ่งการควบคุม ความ ดันและการกินขาสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้

โรคอ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพ่ิมความเสี่ยงไม่เฉพาะ โรค หลอด เลือดตีบทั่ว

โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบทั่วร่างกายการควบคุม น้ำตาลและการออกกำลังกายอยู่เสมอจะสามารถลดความเสี่ยงได้

การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสเป็นได้อีก 30-40%

ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง

อาการความรุนแรง

อาการน้อย อาจมีเพียงพูดไม่ชัด มุมปากตกแขนขาไม่มีเรียวแรงแต่พอเดินได้ มักไม่ปวดศรีษะ ถ้าได้รับการรักษาภายใน 2-4 สัปดาห์ มีโอกาสหายเป็นปกติในบางราย

อาการปานกลาง อาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อ่อนแรงมากขึ้น ขยับแขนขาไม่ได้ หรือพูดไม่ได้เลย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ภายใน 3-5 วัน และต้องทำกายภาพบำบัดต่อ

อาการหนัก ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกตัวตั้งแต่ต้น หรือซึมลงอย่างรวดเร็วมากใน 24 ชั่วโมง มักเป็นในผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง การรักษาจะต้องดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก ส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด ท้ายสุดผู้ป่วยมักต้องอยู่บน ล้อเข็น หรือบนเตียง

การตรวจวินิจฉัย

การวินิจฉัยอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ การตรวจพิเศษอื่นๆ ได้แก่

  • การเอ็กเรย์ด้วยความพิวเตอร์สมอง จะช่วยให้การวินิจฉัยได้แม่นยำ และทำได้รวดเร็ว
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI แม่นยำกว่าเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ใช้เวลานานกว่า และราคาสูง จึงมักใช้ในรายที่จำเป็นเท่านั้น
  • การตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในกรณีที่สงสัยว่ามีโรคหัวใจเป็นสาเหตุ
วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยมีอาการจะต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน หากมาพบแพทย์เร็วภายใน 3-6 ชั่งโมง จะได้รับผลดีในการรักษา ดังนั้น หากมีสัญญาณอันตรายต่างๆ ที่สงสัยว่าน่าจะเกิดจากหลอดเลือดสอง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ้เพียงพอ ไม่ควรหักโหม
  2. การควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วนเกินไป ลดอาหารที่มีไขมันสูง
  3. งดสูบบุหรี่
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
  5. ควรผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
  7. เมื่อมีอาการเตือน หรือสัญญาณอันตรายอย่านิ่งนอนใจ รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
 
Free Web Hosting