ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ หน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเชียงใหม่

แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.นครพิงค์

การประเมินสถานการณ์
  1. ตรวจดูสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ถ้าไม่ ปลอดภัย ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเข้าไปช่วยเหลือ
  2. แจ้งเหตุ/ขอความช่วยเหลือหน่วยงานที่ชำนาญเฉพาะโดยให้ ข้อมูล
  • มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น/สถานการณ์เป็นอย่างไร
  • สถานที่เกิดเหตุ
  • จำนวนผู้บาดเจ็บ/สภาพผู้บาดเจ็บ
    • ชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    3. ประเมินความรุนเรงของการบาดเจ็บ โดยตรวจ

    • ระดับความรู้สึกตัว (รู้สึกตัวดี / ซึม / รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง)
    • ทางเดินหายใจและการหายใจ ลักษณะและอัตราการหายใน
    • ชีพจร ลักษณะการเต้น และจำนวนครั้ง
    • การบาดเจ็บ (กระดูกหัก บาดแผล ฯลฯ) หรือการเจ็บป่วยอื่นที่ดำเนินอยู่

    4. ให้การปฐมพยาบาล

    • การช่วยฟื้นคืนอชีพชั้นพื้นฐาน
    • การห้ามเลือด/การทำแผล
    • การเคลื่อนย้าย/การนำส่งโรงพยาบาล

    การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

    กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.นครพิงค์

    1. ตรวจดูระดับความรู้สึกตัวเรียกหรือถามผู้ป่วย (ภาพที่ 1)
    2. จัดใ้ห้ผู้บาดเจ็บนอนหงายราบกับพื้นใช้มือประคองศรีษะพลิกตัว ให้นอนหงาย (ภาพที่ 2)
    3. เปิดทางเดินหายใจ ล้วองเอาสิ่งแปลกปลอมที่ขวางทางเดินหาย ใจออก (ถ้ามี) กดหน้าผากเชยคางขึ้น (ภาพที่ 3)
    4. ตรวจการหาายใจ หายใจเองได้หรือไม่ และลักษณะการหายใจ (ภาพที่ 4)
    5. ถ้าไม่หายใจ ให้ช่วยเป่าปาก 10-12 ครั้งใน 1 นาที่ (ภาพที่ 5)
    6. ตรวจชีพจร ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ให้ช่วยกดหน้าอก (ภาพที่ 6)
    7. กดหน้าอก ช่วยนวดหัวใจ (ภาพที่ 7,8,9)

     

    วิธีการห้ามเลือด

    กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.นครพิงค์

    1. บาดแผลเล็ก ใช้นิ้วหรือผ้าสะอาด กดลงบนแผล
    2. ถ้ามีแผลเลือดออกที่แขนหรือขา ยกส่วนที่เลือดออกให้สูงกว่า ระดับหัวใจ
    3. ใช้ผ้าสะอาดพับให้หนาพอสมควรสางลงบนแผล แล้วใช้ผ้าพัแผล ให้แน่น
    4. กดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ส่งเลือดมาเลี้ยง
    5. ใช้น้ำแข็งประคบลงบริเวณแผลฟกช้ำ

     

    การทำแผล

    กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.นครพิงค์

    แผลวัตถุปักคา ทำแผลด้วยผ้าสะอาด ประคองว วัตถุปักคาไว้ไม่ ถอด หรือดึงออก

    แผลตัดขาด ทำแผลอวัยวะที่ถูกตัดขา่ดเก็บอวัยวะที่ขาดแช่น้ำแข็ง

    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

    กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.นครพิงค์

    ผู้ช่วยเหลือ 1 คน กรณีผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวเดินได้ช่วยด้วยการพยุง

    ผู้บาดเจ็บ เดินไม่ได้ ในวิธีการอุ้มกอดด้านหน้า

     

     

     

    กรณีผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว ช่วยด้วยวิธีการอุ้มพาดบ่า

    หรือลากด้วยคอ

     

     

     

    ผู้ช่วยเหลือ 2 คน

    1. ประสานมือเป็นแคร่ และยกเคลื่อนย้าย

     

     

     

    2. กอดยกตัว หรือ ยกด้วยเปล

     

     

     

     

     

    ผู้ชวยเหลือ 3-4 คน

    ใช้วิธีการยกกอดตัว หรือ ยกด้วยเปล

     
    Free Web Hosting